วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลำแต้ ลำว่า.. ^___^ สะ ป๊ะ แก๋ง พื้น เมือง จ๊าว....

อาหารพื้นเมือง

         เชียงใหม่ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อาหารการกินพื้นเมืองขอเชียงใหม่ซึ่งมีต้นตำหรับมาจากกลุ่มชนต่างๆผสมผสานปรุงแต่งขึ้นเป็นอาหารประจำท้องถิ่น ของเชียงใหม่เองซึ่งมีมากกว่า 200 ชนิดส่วนรสชาติของอาหารคนเมืองแล้วเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆถือได้ว่ามีรสที่ไม่จัดนักส่วนใหญ่จะออกเค็ม ไม่ออกหวานอย่างภาคกลาง หรือเผ็ดอย่างชาวใต้



      แกง (อ่านว่า แก๋ง) เป็นอาหารประเภทน้ำ ที่มีปริมาณน้ำแกงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับส่วนประกอบต่างๆ ในหม้อ มีวิธีการทำ โดยใส่น้ำ พอเดือด ใส่เครื่องปรุง แล้วใส่ส่วนประกอบหลักที่ต้องการแกงตามลำดับ บางสูตร นิยมคั่วเครื่องแกงกับน้ำมันเล็กน้อย จนเครื่องแกงและส่วนผสมอื่น เช่น หมู ไก่ จนมีกลิ่นหอมก่อน จึงจะเติมน้ำลงไป และจึงใส่เครื่องปรุงอื่นๆ ตามไป เมื่อน้ำเดือด หรือเมื่อหมู หรือไก่ได้ที่แล้ว เครื่องปรุงหลัก ได้แก่ พริก หอมแดง กระเทียม ปลาร้า กะปิ ถ้าเป็นแกงที่มีเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องปรุงด้วย จะใส่ตะไคร้ ขมิ้น เพื่อดับกลิ่นคาว เช่น แกงอ่อมไก่ 

แกงขนุน


 
           แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย

แกงแคไก่ 


    แกงแค เป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิด และมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่าง เรียกชื่อแกงแคตามชนิดของเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น เช่น แกงแคไก่ แกงแคกบ แกงแคจิ๊นงัว แกงแคปลาแห้ง ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผักตำลึง ผักชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ผักเผ็ด และดอกแค 

แกงผักเซียงดา 


   แกงผักเซียงดา หรือแกงผักเซง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวานบ้าน และแกงผักหวานป่า แต่ไม่ใส่วุ้นเส้น นิยมใส่ปลาย่าง หรือปลาแห้ง 


แกงผักหวานบ้าน
  
 แกงผักหวานบ้าน นิยมแกงใส่ปลาแห้ง โดยนำปลาแห้งต้มกับเครื่องแกง ใส่ผักหวานบ้าน และมะเขือเทศ บ้างนิยมใส่ไข่มดแดง



แกงผักเฮือด  
 
            

      แกงผักเฮือด เป็นแกงผักพื้นบ้าน ที่นิยมแกงใส่หมู จะเป็นซี่โครงหมู หรือกระดูกหมู หมูสับ หมูสันใน หรือสันคอหมู แล้วแต่ชอบ บางสูตรนิยมใส่มะขามเปียกเป็นเครื่องปรุงด้วย



แกงหน่อไม้ 

     แกงหน่อไม้ มักเรียกกันว่า แกงหน่อ ใช้หน่อไม้สดในการปรุง หน่อไม้ที่นิยมนำมาแกง ได้แก่ หน่อไม้ไผ่ตง หน่อไม้บง หน่อไม้ไล่ หน่อไม้ไผ่สีสุก บางแห่งนิยมแกงใส่กระดูกหมู หรือปลาดุก หรือปลาช่อน หรือปลาย่าง หรือแคบหมู และบางแห่งนิยมใส่น้ำปูลงไปในถ้วยแกง เพื่อเพิ่มรสชาติของน้ำแกง

แกงอ่อมไก่ 

 
 
        แกงอ่อม เป็นแกงประเภทที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมหลัก เช่น ปลา เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่ นอกจากเนื้อแล้ว นิยมใส่เครื่องในสัตว์เป็นส่วนผสมด้วย เรียกชื่อตามส่วนผสมหลัก ได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลา แกงอ่อมเนื้อ (แกงอ่อมจิ๊นงัว แกงอ่อมจิ๊นควาย) แกงอ่อมหมู (แกงอ่อมจิ๊นหมู) บางก็แกงอ่อมเฉพาะเครื่องใน เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในควาย (แกงอ่อมครัวในงัว แกงอ่อมครัวในควาย)
แกงยอดมะพร้าวอ่อน 



    แกงยอดมะพร้าวอ่อน หรือแกงออกป๊าว นิยมนำมาแกงใส่ไก่ โดยเฉพาะไก่บ้าน อาจใช้กระดูกหมูก็ได้ แต่ไก่บ้าน จะให้รสชาติน้ำแกงที่กลมกล่อมกว่า มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ แกงฟักเขียว แกงปลีตาล


แกงโฮะ 


 

     แกงโฮะ คำว่า “โฮะ” แปลว่า รวม คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน ในสมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่างรวมกัน โดยอาจมีการปรุงรสตามใจชอบ หรือ เติมบางอย่าง เช่น วุ้นเส้น หน่อไม้ และแต่งกลิ่นโดยใส่ใบมะกรูด ตะไคร้  ปัจจุบัน นิยมใช้ของสดในการปรุง และใช้แกงฮังเลเป็นเครื่องปรุง



อยากกินหยังก็เลือกเอาเน่อ จ๊าวววว อันไหนก่ดีกิ๋น ^^





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น